ฟุตบอลไทยลีก เป็นการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ ลำดับสูงสุดของประเทศไทย ประกอบด้วย 18 ทีมจากทั่วประเทศ โดยในแต่ละฤดูกาล ทีมแชมป์ และรองแชมป์ จะได้สิทธิเข้าร่วมแข่งขัน เอเอฟซี แชมเปียนส์ ลีก ในฤดูกาลถัดไป และ 3 อันดับที่มีคะแนนน้อยที่สุด จะต้องไปแข่งในไทยลีกดิวิชัน 1 และ 3 อันดับที่มีคะแนนมากที่สุด จากไทยลีกดิวิชั่น 1 เลื่อนชั้นขึ้นมาแข่งขันแทน
ประวัติ ไทยลีก
- พ.ศ. 2559 ไทยลีก มีทีมเข้าแข่งขัน 18 ทีม
- พ.ศ. 2558 ไทยพรีเมียร์ลีก มีทีมเข้าแข่งขัน 18 ทีม
- พ.ศ. 2557 ไทยพรีเมียร์ลีก มีทีมเข้าแข่งขัน 20 ทีม และประกาศให้มีทีมตกชั้น 5 ทีม เพื่อลดจำนวนทีมร่วมแข่งขันให้เหลือ 18 ทีมตามเดิม
- พ.ศ. 2556 แข่งขันไปได้ 3 นัด ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ไม่ให้อีสานยูไนเต็ดแข่งขันต่อ จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ ไทยพรีเมียร์ลีก ตัดสินใจลดจำนวนทีมตกชั้น เหลือแค่ 1 ทีม แต่เลื่อนชั้นเท่าเดิม 3 ทีม
- พ.ศ. 2554 ไทยพรีเมียร์ลีก ประกาศเพิ่มสิทธิการเลื่อนชั้นจากไทยลีกดิวิชั่น 1 ทำให้ไทยพรีเมียร์ลีก มีสโมสรเข้าร่วมการแข่งขัน 18 ทีม
- พ.ศ. 2552 AFC ออกระเบียบว่าด้วยความเป็นสโมสรอาชีพ สมาคมฟุตบอลได้จัดตั้ง บ.ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด และให้สโมสรที่เข้าร่วมการแข่งขัน ดำเนินการในรูปแบบของนิติบุคคล (บริษัท)
- พ.ศ. 2550 ยุบการแข่งขันโปรวินเชียลลีก โดยให้ 4 อันดับแรกของโปรวินเชียลลีก เข้าแข่งขันในรายการไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก รวมเป็น 16 ทีม พร้อมกำหนดเงื่อนไข 3 ทีม ตกชั้น-เลื่อนชั้น จากไทยลีกดิวิชั่น 1 การแข่งขันในปีแรก ชลบุรี เอฟซี คว้าแชมป์ไปครอง
- พ.ศ. 2539 ส.ฟุตบอลฯ เริ่มก่อตั้งการแข่งขันลีกสูงสุดขึ้น โดยมีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 10 ทีม ก่อนจะขยายเป็น 12 ทีมในเวลาต่อมา
ชื่อการแข่งขัน ไทยลีก
- ครั้งที่ 20 (2559) : โตโยต้า ไทยลีก (เปลี่ยนชื่อการแข่งขัน ภายหลัง สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ได้รับเลือกเป็น นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ คนใหม่)
- ครั้งที่ 17 - 19 (2556-2558) : โตโยต้า ไทย พรีเมียร์ ลีก
- ครั้งที่ 14 - 16 (2553–2555) : สปอนเซอร์ ไทย พรีเมียร์ ลีก
- ครั้งที่ 13 (2552) : ไทย พรีเมียร์ ลีก
- ครั้งที่ 10 - 12 (2549–2551) : ไทยแลนด์ พรีเมียร์ ลีก
- ครั้งที่ 9 (2547–2548) : ไทยลีก
- ครั้งที่ 6 - 8 (2544–2546) : จีเอสเอ็ม ไทย ลีก
- ครั้งที่ 3 - 5 (2541–2543) : คาลเท็กซ์ ไทยแลนด์ พรีเมียร์ ลีก
- ครั้งที่ 1 - 2 (2539–2540) : จอห์นนี วอล์กเกอร์ ไทยแลนด์ ซอกเกอร์ ลีก